Siphonic vs Gravity

การไหลแบบเต็มท่อของระบบไซโฟนิค จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามความเข้มฝน มี Pattern ซึ่งการไหลของน้ำในท่อที่สัมพันธ์ความเข้มฝนดังนี้

slope ท่อน้ำฝน

Siphonic System

การไหลของระบบ Diamond Flows Siphonic จะมีพลังงานเกินขึ้นในระบบท่อแนวนอนไม่จำเป็นต้องมี Slope หัวระบายน้ำฝน Diamond Flows Siphonic สามารถป้องกันขยะที่จะทำให้เกิดการอุดตัน แต่ยอมให้ขยะขนาดเล็กระบายออกไปได้ หน้าที่สำคัญที่สุดคือป้องกันอากาศลงไปในท่อทำให้เราสามารถระบายน้ำฝนแบบเต็มท่อได้

slope ท่อน้ำฝนแบบsiphonic

Gravity System

การไหลแบบกราวิตี้ คือการที่ปล่อยให้น้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำตามธรรมชาติ จะต้องทำให้ท่อแนวนอนมี Slope เพื่อช่วยให้น้ำไหลเร็วขึ้น หัวระบายน้ำฝนของระบบกราวิตี้ ทำหน้าที่ป้องกันขยะลงไปในท่อเท่านั้น ไม่สามาระป้องกันอากาศลงไปได้ จึงทำให้น้ำและอากาศไหลลงไปในท่อพร้อมๆกัน อากาศจะแทรกตัวลงมาเยอะ ทำให้พื้นที่สำหรับการระบายน้ำมีเพียง 1 ใน 3 ของขนาดท่อ

ข้อแตกต่างระหว่าง Siphonic System vs Gravity System

Siphonic System

ท่อระบายน้ำฝน

ระบบระบายน้ำฝน siphonic (ไซโฟนิค) มีแรงดูดในเส้นท่อที่สามารถดึงน้ำจากท่อแนวนอนลงมาที่ท่อแนวดิ่งได้ โดยไม่ต้องทำให้ท่อเอียงและยังสามารถรวบรวมน้ำจากทั้งหลังคามาระบายออกเพียงจุดเดียวโดยที่เก็บงานท่อแนวนอนไว้ใต้หลังคา เพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้านล่างและความสวยงามของอาคาร

Gravity System

ลดจำนวนท่อระบายน้ำฝน

ท่อแนวนอนของระบบระบายน้ำฝนกราวิตี้ จะต้องทำให้ท่อเอียงเพื่อช่วยให้น้ำไหลเร็วขึ้น ยิ่งเดินท่อแนวนอนยาวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้เสียพื้นที่ด้านล่างไป ทำให้อาคารดูไม่สวยงามอีกด้วยจึงเป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งของระบบระบายน้ำฝนแบบกราวิตี้ที่ไม่สามารถเดินท่อแนวนอนระยะไกลได้ ทำให้ต้องมีท่อน้ำฝนหลายๆ จุด เพื่อช่วยระบายลงด้านล่าง

หัวระบายน้ำฝน Diamond flows ออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบระบายน้ำฝน Siphonic โดยเฉพาะ หน้าที่สำคัญคือป้องกันอากาศลงไปในระบบท่อ เพื่อทำให้ภายในระบบท่อเกิดแรงดูด นอกจากการป้องกันอากาศ ด้วยรูปทรงหัวระบายน้ำฝนแบบโปร่งโล่ง มีช่องว่างที่ยอมให้ขยะหรือเศษใบไม้ขนาดเล็กไหลเข้าไปได้ เพื่อลดการอุดตันสะสมบริเวณหัวระบายน้ำ โดยที่ขยะเหล่านั้นจะไม่ค้างอยู่ในระบบท่อ เพราะในระบบมีแรงดูดและความเร็วของน้ำภายในท่อที่สามารถพัดพาสิ่งเหล่านี้ไปออกที่ปลายท่อได้

หัวระบายน้ำฝนแบบกราวิตี้ ลักษณะเป็นตะแกรงทำหน้าที่เพียงป้องกันขยะไม่ให้ลงไปอุดตันในท่อเมื่อขยะไม่สามารถลงไปได้ก็จะค้างอยู่ในรางระบายน้ำฝน อุดตันสะสมบริเวณหัวระบายน้ำฝน ยิ่งนานวันก็จะสะสมอุดตันมากขึ้นทำให้ระบายน้ำฝนไม่ทัน เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำล้นรางไหลเข้าอาคาร ทำความเสียหายได้

รางระบายน้ำฝนอุดตันด้วยเศษขยะ

เศษใบไม้อุดตันสะสมบริเวณหัวระบายน้ำฝน

รางระบายน้ำฝนโรงงาน

ระบบระบายน้ำฝน Diamond flows สามารถเดินท่อไปยังทุกจุดที่ต้องการได้ โดยการวางตำแหน่งหัวระบายน้ำฝน Dimond flows กระจายทั่วพื้นที่เพื่อให้ระบายออกได้พร้อม ๆ กัน การออกแบบระบบ จะออกแบบให้ระบายน้ำฝนออก 100% ตลอดเวลา จึงสามารถลดขนาดรางน้ำฝนลงได้ ทีมวิศวกร Diamond fows สามารถแนะนำขนาด Minimum gutter size ที่มีความปลอดภัยให้ทางโครงการหากโครงการต้องการ ซึ่งข้อดีของรางขนาดเล็กคือ ลดต้นทุนจากวัสดุที่ใช้ทำรางน้ำฝน และโครงสร้างอาคารไม่ต้องออกแบบให้รับน้ำหนักของน้ำที่มากเกินไป

รางระบายน้ำฝนโรงงานแบบSiphonic

รางน้ำฝนของระบบระบายน้ำฝนกราวิตี้ จะเป็นรางน้ำฝนขนาดใหญ่ มีต้นทุนสูง เนื่องด้วยข้อจำกัดของระบบกราวิตี้ ที่ไม่อาจเดินท่อน้ำฝนไปรับทุกจุดได้ จึงต้องเก็บน้ำในรางไว้จำนวนหนึ่งแล้วรอให้ไหลไปยังจุดที่สามารถวางหัวระบายน้ำฝนได้ และข้อจำกัดอีกอย่างก็คือ ไม่สามารถออกแบบระบบระบบระบายน้ำฝนกราวิตี้ให้เพียงพอต่อการระบายออกทั้งหมด 100% จึงต้องเก็บน้ำไว้ในรางส่วนหนึ่งเพื่อรอการระบาย ซึ่งการที่รางรับปริมาณน้ำไว้มากๆ ก็จะส่งผลต่อโครงสร้างอาคารที่ต้องรับน้ำหนักน้ำนี้ไว้ด้วย หากโครงสร้างของอาคารไม่แข็งแรงอาจเกิดความเสียหายภายหลังได้

ออกแบบท่อระบายน้ำฝน

ระบบระบายน้ำฝน Diamond flows ใช้ท่อขนาดเล็กกว่าระบบระบายน้ำฝนกราวิตี้ เพราะเน้นให้ระบบระบายน้ำฝนไหลแบบเต็มท่อ ไม่ต้องเผื่อพื้นที่ให้อากาศ ไม่ต้องติดตั้งท่อแนวดิ่งหลายจุดเหมือนระบบระบายน้ำฝนกราวิตี้ ซึ่งการเลือกใช้ขนาดท่อนั้น ต้องผ่านการคำนวณจากวิศวกรผู้มีความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อคำนวณความสมดุลของพลังงานที่เหมาะสมภายในเส้นท่อ

ออกแบบท่อระบายน้ำฝนแบบSiphonic

ระบบระบายน้ำฝนแบบกราวิตี้ น้ำฝนจะไหลลงท่อตามแรงโน้มถ่วงของโลก เมื่อน้ำไหลลงท่อจะดึงเอาอากาศที่อยู่รอบ ๆ หัวระบายน้ำฝนลงไปด้วย ภายในท่อจึงมีทั้งน้ำและอากาศปนกัน โดย 2/3 ของพื้นที่หน้าตัดท่อจะเป็นอากาศแทกตัวอยู่กลางท่อ น้ำฝนจะไหลเกาะขอบท่อลงไปได้เพียงง 1/3 ของพื้นที่หน้าตัดท่อเท่านั้น การออกแบบระบบระบายน้ำฝนกราวิตี้จึงต้องออกแบบให้ท่อมีขนาดใหญ่และมีท่อระบายลงด้านล่างหลาย ๆ จุดเพราะท่อแต่ละเส้นระบายน้ำได้น้อย